การเริ่มต้นการฝากครรภ์ครั้งแรกคุณแม่มือใหม่ต้องรู้อะไรบ้าง

คุณแม่สามารถซักถามเพิ่มเติมได้การฝากครรภ์ครั้งแรกอาจใช้เวลานานเล็กน้อย ในกรณีที่คุณแม่ไม่มีปัญหาหรือความผิดปกติใดๆ แพทย์จะนัดมาฝากครรภ์ครั้งถัดไปอีกประมาณหนึ่งเดือนสำหรับโรงพยาบาลบางแห่งครั้งแรกที่คุณแม่มาฝากครรภ์ คุณแม่อาจจะยังไม่ได้พบแพทย์สำหรับโรงพยาบาลเอกชนจะได้พบแพทย์ตั้งแต่ครั้งแรกแต่คุณพยาบาลจะทำการเจาะเลือดตรวจเบื้องต้นก่อน แล้วจึงนัดคุณแม่มาฟังผลเลือดครั้งต่อไปพร้อมกับพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนกลับบ้านคุณแม่จะได้รับสมุดฝากครรภ์ซึ่งจะมีรายละเอียดของการฝากครรภ์ คุณแม่ควรจะพกสมุดฝากครรภ์นี้ติดตัวไว้ตลอดการตั้งครรภ์และนำมาทุกครั้งที่มาฝากครรภ์

ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ คุณแม่จะได้รับการวัดความดันโลหิต ชีพจร ชั่งน้ำหนักตัวและตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจหาโปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะหลังจากนั้น แพทย์จะทำการตรวจครรภ์ และฟังเสียงหัวใจลูกน้อยในครรภ์ (ถ้าอายุครรภ์เกินห้าเดือน) แพทย์จะแจ้งผลเลือดที่ทำการตรวจไปในครั้งก่อน ในกรณีที่พบว่ามีความผิดปกติ แพทย์จะให้คำแนะนำและแนวทางในการรักษา แต่สำหรับคุณแม่ที่ปกติดี แพทย์จะนัดมาฝากครรภ์อีกเป็นระยะๆ ต่อไปมีคุณแม่จำนวนหนึ่งที่มีข้อสงสัยว่าจำเป็นต้องทานยาบำรุงหรือไม่และต้องทานในปริมาณเท่าไร คำตอบก็คือ ยาบำรุงที่สำคัญสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์คือยาบำรุงเลือดโดยทั่วไป แพทย์จะเริ่มให้ทานยาบำรุงเลือดเมื่ออายุครรภ์เกินสี่ถึงห้าเดือนขึ้นไป

ปัจจุบันไม่มีวิธีการตรวจใดๆที่สามารถรับประกันได้ว่าลูกน้อยในครรภ์จะปกติ สมบูรณ์แข็งแรงแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าพบความผิดปกติจากการตรวจอุลตร้าซาวน์ แพทย์จะให้คำแนะนำ แนวทางการรักษาต่อไป และในบางกรณี แพทย์จะนัดคุณแม่มาเพื่อตรวจอุลตร้าซาวน์อีกเป็นระยะๆโดยทั่วไป คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ เมื่ออายุครรภ์เกินห้าเดือนไปแล้ว คุณแม่ควรจะสังเกตลักษณะการดิ้นของลูกน้อย ในกรณีที่รู้สึกว่า ลูกน้อยดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเลย คุณแม่จะต้องรีบมาพบแพทย์ทันทีเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น คุณแม่จะต้องมาฝากครรภ์ถี่มากขึ้น เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ แพทย์จะทำการเจาะเลือดคุณแม่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง